โดยปกติ เมื่อลูกจ้างได้รับเงินเดือน โบนัส หรือค่าจ้างใดๆ จากนายบริษัท ย่อมเป็นรายได้ของพนักงานที่ต้องนำไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของตัวเอง แต่ก็มีกรณีที่นายจ้างทำข้อตกลงในสัญญาจ้างให้กับพนักงานว่าจะรับผิดชอบค่าภาษีให้แทนด้วยเช่นกัน จึงมีข้อสงสัยเกี่ยวกับกรณีบริษัทจ่ายภาษีให้พนักงานว่าสามารถทำได้จริงหรือไม่? ถ้าจ่ายค่าภาษีให้แล้วจะเกิดผลอะไรตามมากับพนักงานและบริษัทบ้าง? iTAX จึงสรุปได้เป็น 3 ข้อต่อไปนี้
1. ข้อตกลงว่าจะจ่ายค่าภาษีให้สามารถทำได้
การตกลงว่านายจ้างจะรับภาระจ่ายค่าภาษีแทนพนักงานให้ เป็นสวัสดิการที่นายจ้างสามารถตกลงให้กับลูกจ้างเป็นพิเศษกว่าสิทธิประโยชน์ขั้นต่ำตามกฎหมายแรงงานได้ ความตกลงลักษณะนี้จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย
ดังนั้น หากบริษัทมีความต้องการจะจ่ายค่าภาษีให้พนักงานจริงๆ ก็สามารถกำหนดเป็นระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และข้อบังคับของบริษัทให้เป็นลายลักษณ์อักษร ก็สามารถทำได้แล้ว
2. ค่าภาษีที่นายจ้างออกให้จะกลายเป็นรายได้ของลูกจ้าง
แม้ว่านายจ้างจะออกค่าภาษีให้แล้ว แต่กฎหมายภาษีระบุไว้ชัดเจนว่าค่าภาษีที่มีคนออกให้จะถูกบวกกลับไปเป็นฐานรายได้ที่ลูกจ้างต้องนำไปเสียภาษีอีกอยู่ดี เช่น
ตัวอย่าง
ถ้าสมมติว่าพนักงานมีรายได้ 2,000,000 บาท มีภาระต้องเสียภาษี 200,000 บาท แล้วพนักงานมาขอเบิกค่าภาษีกับนายจ้างตามข้อตกลง เมื่อนายจ้างออกค่าภาษี 200,000 บาทให้พนักงานทั้งจำนวน กฎหมายภาษีจะมองว่าพนักงานมีรายได้เพิ่มจากเดิม
ดังนั้น การที่บริษัทออกค่าภาษีแทนให้ทำให้ค่าภาษี 200,000 บาทที่ได้รับนั้นกลายเป็นรายได้ย้อนหลังของปีภาษีที่ผ่านมา ส่งผลให้พนักงานมีรายได้รวมทั้งหมด 2,200,000 บาท โดยจัดเป็นรายได้จากงานประจำเหมือนเงินเดือนทั่วไป (เงินได้ประเภทที่ 1) ดังนั้น เมื่อมีรายได้ย้อนหลังเพิ่มขึ้น ย่อมทำให้ภาระภาษีเพิ่มขึ้นจากเดิมด้วย
สมมติว่า รายได้รวม 2,200,000 บาท นี้คำนวณค่าภาษีได้ 250,000 บาท แสดงว่าค่าภาษีที่จ่ายไปแล้ว 200,000 บาทไม่เพียงพอ พนักงานจึงต้องรับผิดชอบค่าภาษีส่วนต่างอีก 50,000 บาท ที่เพิ่มขึ้นมาด้วยตัวเอง
แต่ถ้าบริษัทได้ตกลงให้พนักงานสามารถเบิกค่าภาษีส่วนต่างเพิ่มเติมอีก 50,000 บาท นั้นได้อีก เมื่อเบิกแล้ว ค่าภาษี 50,000 บาท ก็จะกลายเป็นรายได้ย้อนหลังของพนักงานที่ต้องนำไปรวมเป็นฐานรายได้เพื่อคำนวณภาษี และรับผิดชอบค่าภาษีส่วนต่างเพิ่มเติมนั้นไปเรื่อยๆ จนกว่านายจ้างจะหยุดจ่ายภาษีแทนพนักงาน
3. นายจ้างสามารถนำค่าภาษีที่จ่ายแทนไปหักเป็นรายจ่ายทางธุรกิจได้
ค่าภาษีที่บริษัทจ่ายให้พนักงานเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างที่จ่ายให้พนักงานและต้นทุนทางธุรกิจ นายจ้างจึงสามารถนำค่าภาษีที่ออกให้พนักงานนั้นไปรวมเป็นรายจ่ายของบริษัทได้ทั้งจำนวน ซึ่งจะช่วยลดภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทได้หากบริษัทมีกำไร
แต่ถ้าบริษัทกำลังขาดทุนอยู่ ค่าภาษีดังกล่าวก็สามารถสะสมไว้อยู่ในผลขาดทุนสุทธิสะสมเพื่อรอวันที่บริษัทมีกำไรในปีต่อๆ ไปแล้วนำไปหักกลบกับกำไรในปีนั้นได้ ซึ่งภาษีเงินได้นิติบุคคลอนุญาตให้บริษัทสามารถสะสมผลขาดทุนสุทธิได้ 5 ปี (5 รอบระยะเวลาบัญชี)
สรุป
นายจ้างสามารถนำค่าภาษีที่จ่ายแทนให้พนักงานไปหักเป็นรายจ่ายทางธุรกิจได้ทั้งจำนวน แต่ค่าภาษีที่ออกให้นั้นจะกลายเป็นฐานรายได้ของพนักงานที่ต้องนำไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของตัวเองต่อไป
RELATED POSTS
เป็นพระต้องเสียภาษีมั๊ยศาสนาพุทธเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน พระภิกษุในฐานะนักบวชของศาสนาพุทธจึงเป็นที่พึ่งให้พุทธศาสนิกชนในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะทางด้านจิตใจ ซึ่งหลายๆ ครั้งก็มักจะจบลงด้วยการใส่ซองถวายเงินให้พระแล้วกราบ 3 ครั้ง วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันว่า ตามกฎหมายไทยเป็นพระต้องเสียภาษีมั้ย? 1. พระเป็นผู้เสียภาษีได้ไหม? ในมุมมองของปุถุชน เรามักจะมองว่าพระตัดแล้วซึ่งทางโลก แต่กฎหมายไม่ได้มองแบบนั้น กฎหมายยังคงมองว่าพระภิกษุยังคงเป็น บุคคลธรรมดา ตามกฎหมายอยู่ ดังนั้น ถ้าพระมีรายได้ พระก็จะพ่วงตำแหน่ง ผู้เสียภาษี ไปด้วย ในทางกลับกัน ถ้าพระไม่มีรายได้ พระก็ไม่มีหน้าที่เป็นผู้เสียภาษีแต่อย่างใด 2. พระจะมีรายได้ได้ไง? สำหรับพระซึ่งกฎหมายมองว่าเป็นบุคคลธรรมดา ก็ใช้หลักพื้นฐานง่ายๆ ว่าบุคคลธรรมดาคนนั้นมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีไหม (หรือที่ศัพท์กฎหมายยากๆ เรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน”) ซึ่งนักบวชที่เป็นพระภิกษุในศาสนาพุทธก็อาจจะมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีได้ เช่น รายได้จากการสอนหนังสือ บรรยายธรรมให้องค์กรเอกชน ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เป็นต้น 3. แต่ไม่เคยเห็นพระรูปไหนเสียภาษีเลยนะ? ถ้าเงินที่พระได้รับเป็นเงินทำบุญที่ญาติโยมบริจาคเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการศาสนา แบบนี้จะเป็นเงินได้ที่ต้องได้รับยกเว้นภาษีอยู่แล้ว (มาตรา 42(29) ประมวลรัษฎากร) เมื่อเงินที่ได้ได้รับยกเว้นภาษี ก็แปลว่า พระไม่มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษี เมื่อไม่มีเงินได้ก็เลยไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง สรุป ที่พระไม่ต้องเสียภาษีไม่ใช่เพราะพระมีสถานะเป็นพระ แต่เป็นเพราะเงินที่พระได้รับเป็นเงินที่ยกเว้นภาษีต่างหาก พระเลยไม่ต้องเสียภาษี ส่วนพระที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินทำบุญ ท่านอาจจะมีหน้าที่ต้องเสียภาษีด้วยนะครับ ยังไงถ้าหลวงพี่ทำภาษีไม่เป็นจริงๆ นิมนต์หลวงพี่ใช้ www.itax.in.th ได้ฟรีนะครับ
-
-
ได้เงินทดแทนประกันสังคมเพราะตกงาน ต้องเสียภาษีมั้ย?พนักงานประจำที่ถูกหักเงินประกันสังคมเดือนละ ฿750 ทุกเดือน จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ หรือเงินชดเชยจากประกันสังคม ที่จ่ายให้พนักงานที่ออกจากงาน (ผู้ประกันตน) เพื่อช่วยเหลือในช่วงเวลาที่กำลังหางานประจำใหม่ และเงินทดแทนประกันสังคมก้อนนี้ต้องเสียภาษีหรือไม่?
-
-
-
สาเหตุที่ทำให้เรา ได้ เงินคืนภาษีช้า กว่าที่คิดการเตรียมเอกสารทุกอย่างให้เรียบร้อย ไม่ได้มีประโยชน์ในแง่ของความแม่นยำในการกรอกตัวเลขเพื่อยื่นภาษีเท่านั้น แต่ยังช่วยให้คุณสามารถส่งเอกสารเพิ่มเติมได้เร็วมากขึ้น และมีโอกาสได้รับเงินคืนภาษีรวดเร็วเพิ่มขึ้นอีกด้วย
RELATED POSTS
เป็นพระต้องเสียภาษีมั๊ยศาสนาพุทธเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน พระภิกษุในฐานะนักบวชของศาสนาพุทธจึงเป็นที่พึ่งให้พุทธศาสนิกชนในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะทางด้านจิตใจ ซึ่งหลายๆ ครั้งก็มักจะจบลงด้วยการใส่ซองถวายเงินให้พระแล้วกราบ 3 ครั้ง วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันว่า ตามกฎหมายไทยเป็นพระต้องเสียภาษีมั้ย? 1. พระเป็นผู้เสียภาษีได้ไหม? ในมุมมองของปุถุชน เรามักจะมองว่าพระตัดแล้วซึ่งทางโลก แต่กฎหมายไม่ได้มองแบบนั้น กฎหมายยังคงมองว่าพระภิกษุยังคงเป็น บุคคลธรรมดา ตามกฎหมายอยู่ ดังนั้น ถ้าพระมีรายได้ พระก็จะพ่วงตำแหน่ง ผู้เสียภาษี ไปด้วย ในทางกลับกัน ถ้าพระไม่มีรายได้ พระก็ไม่มีหน้าที่เป็นผู้เสียภาษีแต่อย่างใด 2. พระจะมีรายได้ได้ไง? สำหรับพระซึ่งกฎหมายมองว่าเป็นบุคคลธรรมดา ก็ใช้หลักพื้นฐานง่ายๆ ว่าบุคคลธรรมดาคนนั้นมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีไหม (หรือที่ศัพท์กฎหมายยากๆ เรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน”) ซึ่งนักบวชที่เป็นพระภิกษุในศาสนาพุทธก็อาจจะมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีได้ เช่น รายได้จากการสอนหนังสือ บรรยายธรรมให้องค์กรเอกชน ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เป็นต้น 3. แต่ไม่เคยเห็นพระรูปไหนเสียภาษีเลยนะ? ถ้าเงินที่พระได้รับเป็นเงินทำบุญที่ญาติโยมบริจาคเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการศาสนา แบบนี้จะเป็นเงินได้ที่ต้องได้รับยกเว้นภาษีอยู่แล้ว (มาตรา 42(29) ประมวลรัษฎากร) เมื่อเงินที่ได้ได้รับยกเว้นภาษี ก็แปลว่า พระไม่มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษี เมื่อไม่มีเงินได้ก็เลยไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง สรุป ที่พระไม่ต้องเสียภาษีไม่ใช่เพราะพระมีสถานะเป็นพระ แต่เป็นเพราะเงินที่พระได้รับเป็นเงินที่ยกเว้นภาษีต่างหาก พระเลยไม่ต้องเสียภาษี ส่วนพระที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินทำบุญ ท่านอาจจะมีหน้าที่ต้องเสียภาษีด้วยนะครับ ยังไงถ้าหลวงพี่ทำภาษีไม่เป็นจริงๆ นิมนต์หลวงพี่ใช้ www.itax.in.th ได้ฟรีนะครับ
-
-
ได้เงินทดแทนประกันสังคมเพราะตกงาน ต้องเสียภาษีมั้ย?พนักงานประจำที่ถูกหักเงินประกันสังคมเดือนละ ฿750 ทุกเดือน จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ หรือเงินชดเชยจากประกันสังคม ที่จ่ายให้พนักงานที่ออกจากงาน (ผู้ประกันตน) เพื่อช่วยเหลือในช่วงเวลาที่กำลังหางานประจำใหม่ และเงินทดแทนประกันสังคมก้อนนี้ต้องเสียภาษีหรือไม่?
-
-
-
สาเหตุที่ทำให้เรา ได้ เงินคืนภาษีช้า กว่าที่คิดการเตรียมเอกสารทุกอย่างให้เรียบร้อย ไม่ได้มีประโยชน์ในแง่ของความแม่นยำในการกรอกตัวเลขเพื่อยื่นภาษีเท่านั้น แต่ยังช่วยให้คุณสามารถส่งเอกสารเพิ่มเติมได้เร็วมากขึ้น และมีโอกาสได้รับเงินคืนภาษีรวดเร็วเพิ่มขึ้นอีกด้วย