โปรแกรม payroll รูปแบบใหม่ มาพร้อมระบบ Self-service ลดงานและคืนเวลาให้ HR พร้อมเชื่อมต่อการคำนวณภาษีและการเงินส่วนบุคคลสำหรับพนักงานในรูปแบบที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน
ทำ Digital Transformation ในองค์กร เริ่มได้ง่ายๆ ด้วยโปรแกรม payroll
iTAX paystation โปรแกรม payroll รูปแบบใหม่
จัดการ Payroll อัตโนมัติ
เมื่อคุณคอนเฟิร์ม payroll ระบบจะเตรียมเอกสารและ file ยื่นออนไลน์ต่างๆ ทั้งหมดให้ทันที บอกลาการ copy/paste ข้อมูลเดิมซ้ำๆ เพื่อทำเอกสารแยกตามรายการ
เอกสาร และไฟล์ต่างๆ ที่จะได้รับ:
- ไฟล์โอนเงินธนาคาร
- ประกันสังคม (สปส.1-10, กท 20ก)
- ภาษี (ภ.ง.ด. 1, ภ.ง.ด. 1ก)
- สลิปเงินเดือน / ใบ 50 ทวิ และ
- อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน
Self-service กระจายงาน
ระบบ Self-service จะช่วยกระจายงานให้พนักงานจัดการตนเอง เพื่อแบ่งเบางาน HR เช่น:
- ดาวน์โหลด สลิปเงินเดือน / ใบ 50 ทวิ
- แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
- แจ้งสิทธิลดหย่อนประจำปี
- ลางาน และ
- อื่นๆ อีกมายมาย
ด้าน HR เพียงอนุมัติหรือปฏิเสธคำขอ ระบบก็จะบันทึกข้อมูลและประมวลผลให้อัตโนมัติ เพิ่มความแม่นยำของข้อมูลพนักงานและลดภาระงานของ HR ได้อย่างมีนัยสำคัญ
ลงเวลาเข้างานที่ไหนก็ได้
ด้วยระบบ Time Attendance รองรับการลงเวลาเข้า-ออกงานผ่าน app ได้ด้วยตัวเอง จึงเหมาะสำหรับธุรกิจที่เริ่มเปลี่ยนแนวทางการทำงานเป็น Work from Home
หากเป็นกิจการที่พนักงานต้องทำงาน on-site ก็ไม่ต้องเสียเวลาต่อคิวที่เครื่องตอกบัตร เพราะระบบลงเวลาเข้างานของ iTAX paystation สามารถใช้ GPS ตรวจสอบพิกัดเมื่อลงเวลาได้ว่าอยู่ที่บริษัทหรือไม่ พร้อมระบบตรวจสอบใบหน้า หมดปัญหาการตอกบัตรแทนกัน
Sync กับแอปวางแผนภาษี
iTAX paystation อาศัยข้อได้เปรียบจากการเชื่อมต่อกับแอป iTAX ซึ่งเป็น app คำนวณภาษีสำหรับพนักงานได้อย่างเต็มรูปแบบ โดย app จะดึงข้อมูลรายได้, ภาษีหัก ณ ที่จ่าย, ประกันสังคม และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จาก iTAX paystation มาคำนวณภาษีให้พนักงานทุกคนแบบ Real-time พร้อมวางแผนภาษีด้วยตัวเองได้อย่างแม่นยำ
ค่าบริการ
- iTAX paystation คิดค่าบริการเริ่มต้นที่ ฿1,000 ต่อเดือน สำหรับพนักงานไม่เกิน 20 คนต่อบริษัท
- กรณีมีพนักงานเกิน 20 คน จะคิดค่าบริการ ฿50 ต่อคน ต่อเดือน สำหรับพนักงานคนที่ 21 เป็นต้นไป
UPGRADE TODAY
อัปเกรดจากระบบเก่ามาเป็น iTAX paystation เพื่อให้งาน payroll สิ้นเดือนนี้สบายกว่าที่เคย
สูตรคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเงินเดือนพนักงาน
การจ่ายเงินเดือนพนักงาน (เงินได้ประเภทที่ 1) กฎหมายกำหนดให้นายจ้างซึ่งเป็นผู้จ่ายค่าจ้างให้พนักงานคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นรายเดือนจากเงินเดือนที่จ่ายให้พนักงานแต่ละเดือน โดยต้อง คำนวณภาษี ของพนักงานแยกเป็นรายบุคคล ซึ่ง iTAX paystation อ้างอิงวิธีคำนวณตามมาตรฐานของกรมสรรพากรโดยมีหลักการเบื้องต้น ดังนี้
หลักการทั่วไปเกี่ยวกับการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเงินเดือนพนักงาน
โดยปกติแล้ว การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายรายเดือนของพนักงาน จะใช้วิธีคำนวณจากการประมาณการรายได้และสิทธิประโยชน์ทางภาษีของพนักงานตลอดทั้งปี แล้วจึงนำค่าภาษีทั้งหมดที่คำนวณได้มาแบ่งซอยย่อยเป็นรายเดือน
ให้นายจ้างคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายโดยอิงจากฐานเงินเดือนของพนักงานที่จะได้รับตลอดทั้งปี แล้วหักด้วยสิทธิหัก ค่าใช้จ่าย และ ค่าลดหย่อน ที่แจ้งว่าจะใช้สิทธิ์ตลอดทั้งปี เมื่อคำนวณได้ค่าภาษีประจำปีแล้ว จึงนำมาหารเฉลี่ยตามจำนวนงวดที่จ่าย
ค่าภาษีที่คํานวณได้ ÷ จํานวนงวด = ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
เช่น คำนวณค่าภาษีทั้งปีแล้วได้ ฿12,000 โดยจ่ายเงินเดือนเป็นรายเดือน ดังนั้น ตลอดทั้งปีจึงมีการจ่ายเงินเดือน 12 งวด ทำให้ทุกๆ เดือนต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เดือนละ ฿1,000 เป็นต้น
อย่างไรก็ดี หากหารภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามจำนวนงวดแล้วไม่ลงตัว การหักภาษีจะไม่ปัดเศษขึ้น เช่น คำนวณภาษีตลอดทั้งปีได้ 20,600 บาท เมื่อหารตามจำนวนงวด 12 เดือนแล้วจะได้ 1,716.6666667 (20,600/12 เดือน) ในกรณีเช่นนี้ การหักภาษี ณ ที่จ่ายจะใช้เลข 1,716.66 ไปเลย (ไม่ปัดเศษเป็น 1,716.67)
หมายเหตุ: การแจ้งสิทธิลดหย่อนของพนักงานสามารถแจ้งให้นายจ้างหรือ HR ทราบล่วงหน้าได้ตั้งแต่ช่วงต้นปี โดยการแจ้งในแบบแจ้งรายการเพื่อการหักลดหย่อน (แบบ ล.ย.01) ที่นายจ้างทำขึ้น และให้มีผลต่อการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายในงวดนั้นทันที แม้ว่าจะจ่ายค่าลดหย่อนนั้นในเดือนอื่นของปีก็ตาม เว้นแต่จะเป็นค่าลดหย่อนเงินบริจาคให้คำนวณหักได้เมื่อมีการจ่ายเงินบริจาคจริงเท่านั้น
ทั้งนี้ กรณีพนักงานได้แจ้งเปลี่ยนแปลงรายการค่าลดหย่อนระหว่างปี ให้คำนวณหักค่าลดหย่อนตามที่พนักงานได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้นด้วย
หลักพิเศษสำหรับการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย เฉพาะเดือนธันวาคม
การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเดือนธันวาคมจะมีความพิเศษกว่าเดือนอื่นๆ กล่าวคือ อาจไม่ใช่เลขอัตราเดียวกับที่เคยถูกหักในเดือนอื่นๆ เนื่องจากในเดือนธันวาคมจะใช้วิธีคำนวณจากเศษคงเหลือของภาษีตลอดทั้งปีหลังหักภาษี ณ ที่จ่ายตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน
เช่น คำนวณภาษีตลอดทั้งปีได้ 20,600 บาท และเมื่อเดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายนถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปเดือนละ 1,716.66 บาท รวม 11 เดือน จึงถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายระหว่างปีไปแล้วรวม 18,883.26 บาท (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 1,716.66 x 11 เดือน)
ดังนั้น ภาษีหัก ณ ที่จ่ายในเดือนธันวาคมจึงนำภาษีที่คำนวณตลอดทั้งปี 20,600 – ภาษีหัก ณ ที่จ่ายระหว่างปี 18,883.26 = 1,716.74 บาท
สรุป เดือนธันวาคมจึงต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 1,716.74 บาท
เสียเวลาคำนวณภาษีเงินเดือนเองทำไม?
iTAX paystation โปรแกรมเงินเดือนสำเร็จรูป