ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 11) เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป
- เช็คสิทธิ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 ล่าสุดวันนี้
- คนละครึ่งเฟส 5 – ลงทะเบียนสำหรับคนเดิม เริ่ม 19 ส.ค. 2565
ด้วยคณะกรรมการค่าจ้างได้มีการประชุมศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ ประกอบกับข้อเท็จจริงอื่นตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565 และมีมติเห็นชอบให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพื่อใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างทุกคน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 79 (3) และมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการค่าจ้าง จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562
ข้อ 2 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยห้าสิบสี่บาท ในท้องที่จังหวัดชลบุรี ภูเก็ต และระยอง
ข้อ 3 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยห้าสิบสามบาท ในท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
ข้อ 4 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยสี่สิบห้าบาท ในท้องที่จังหวัดฉะเชิงเทรา
ข้อ 5 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยสี่สิบสามบาท ในท้องที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ข้อ 6 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยสี่สิบบาท ในท้องที่จังหวัดกระบี่ ขอนแก่น เชียงใหม่ ตราด นครราชสีมา ปราจีนบุรี พังงา ลพบุรี สงขลา สระบุรี สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี หนองคาย และอุบลราชธานี
ข้อ 7 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยสามสิบแปดบาท ในท้องที่จังหวัดกาฬสินธุ์ จันทบุรี นครนายก มุกดาหาร สกลนคร และสมุทรสงคราม
ข้อ 8 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยสามสิบห้าบาท ในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี ชัยนาท นครพนม นครสวรรค์ บึงกาฬ บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ พะเยา พัทลุง เพชรบุรี พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย สระแก้ว สุรินทร์ อ่างทอง และอุตรดิตถ์
ข้อ 9 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยสามสิบสองบาท ในท้องที่จังหวัดกำแพงเพชร ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย ตรัง ตาก นครศรีธรรมราช พิจิตร แพร่ มหาสารคาม
แม่ฮ่องสอน ระนอง ราชบุรี ลำปาง ลำพูน ศรีสะเกษ สตูล สิงห์บุรี สุโขทัย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ และอุทัยธานี
ข้อ 10 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยยี่สิบแปดบาท ในท้องที่จังหวัดนราธิวาส น่าน ปัตตานี ยะลา และอุดรธานี
ข้อ 11 เพื่อประโยชน์ตามข้อ 2 ถึงข้อ 10 คำว่า “วัน” หมายถึง เวลาทำงานปกติของลูกจ้าง ซึ่งไม่เกินชั่วโมงทำงานดังต่อไปนี้ แม้นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานน้อยกว่าเวลาทำงานปกติเพียงใดก็ตาม
(1) เจ็ดชั่วโมง สำหรับงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
(2) แปดชั่วโมง สำหรับงานอื่นซึ่งไม่ใช่งานตาม (1)
ข้อ 12 ห้ามมิให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเป็นเงินแก่ลูกจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
ข้อ 13 ประกาศคณะกรรมการค่าจ้างฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2565
บุญชอบ สุทธมนัสวงษ์
ปลัดกระทรวงแรงงาน
ประธานกรรมการค่าจ้าง
สรุป “อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ” ใหม่ เริ่ม 1 ต.ค. 2565 เรียงลำดับอัตราค่าแรงใหม่จากสูงไปต่ำ
1. อัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 354 บาท จำนวน 6 จังหวัด
ปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 354 บาท ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่
- ชลบุรี (จากเดิมวันละ 336 บาท)
- ระยอง (จากเดิมวันละ 335 บาท) และ
- ภูเก็ต (จากเดิมวันละ 336 บาท)
2. อัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 353 บาท จำนวน 6 จังหวัด
ปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 353 บาท ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่
- กรุงเทพมหานคร (จากเดิมวันละ 331 บาท)
- นนทบุรี (จากเดิมวันละ 331 บาท)
- นครปฐม (จากเดิมวันละ 331 บาท)
- ปทุมธานี (จากเดิมวันละ 331 บาท)
- สมุทรปราการ (จากเดิมวันละ 331 บาท) และ
- สมุทรสาคร (จากเดิมวันละ 331 บาท)
3. อัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 345 บาท จำนวน 1 จังหวัด
ปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 345 บาท ในพื้นที่ 1 จังหวัด ได้แก่
- ฉะเชิงเทรา (จากเดิมวันละ 330 บาท)
4. อัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 343 บาท จำนวน 1 จังหวัด
ปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 343 บาท ในพื้นที่ 1 จังหวัด ได้แก่
- พระนครศรีอยุธยา (จากเดิมวันละ 325 บาท)
5. อัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 340 บาท จำนวน 14 จังหวัด
ปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 340 บาท ในพื้นที่ 14 จังหวัด ได้แก่
- กระบี่ (จากเดิมวันละ 325 บาท)
- ขอนแก่น (จากเดิมวันละ 325 บาท)
- เชียงใหม่ (จากเดิมวันละ 325 บาท)
- ตราด (จากเดิมวันละ 325 บาท)
- นครราชสีมา (จากเดิมวันละ 325 บาท)
- ปราจีนบุรี (จากเดิมวันละ 324 บาท)
- พังงา (จากเดิมวันละ 325 บาท)
- ลพบุรี (จากเดิมวันละ 325 บาท)
- สงขลา (จากเดิมวันละ 325 บาท)
- สระบุรี (จากเดิมวันละ 325 บาท)
- สุพรรณบุรี (จากเดิมวันละ 325 บาท)
- สุราษฎร์ธานี (จากเดิมวันละ 325 บาท)
- หนองคาย (จากเดิมวันละ 325 บาท) และ
- อุบลราชธานี (จากเดิมวันละ 325 บาท)
6. อัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 338 บาท จำนวน 6 จังหวัด
ปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 338 บาท ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่
- กาฬสินธุ์ (จากเดิมวันละ 332 บาท)
- จันทบุรี (จากเดิมวันละ 332 บาท)
- นครนายก (จากเดิมวันละ 332 บาท)
- มุกดาหาร (จากเดิมวันละ 332 บาท)
- สกลนคร (จากเดิมวันละ 332 บาท) และ
- สมุทรสงคราม (จากเดิมวันละ 332 บาท)
7. อัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 335 บาท จำนวน 19 จังหวัด
ปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 335 บาท ในพื้นที่ 19 จังหวัด ได้แก่
- กาญจนบุรี (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- ชัยนาท (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- นครพนม (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- นครสวรรค์ (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- บึงกาฬ (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- บุรีรัมย์ (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- ประจวบคีรีขันธ์ (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- พะเยา (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- พัทลุง (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- พิษณุโลก (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- เพชรบุรี (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- เพชรบูรณ์ (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- ยโสธร (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- ร้อยเอ็ด (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- เลย (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- สระแก้ว (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- สุรินทร์ (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- อ่างทอง (จากเดิมวันละ 320 บาท) และ
- อุตรดิตถ์ (จากเดิมวันละ 320 บาท)
8. อัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 332 บาท จำนวน 22 จังหวัด
ปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 332 บาท ในพื้นที่ 22 จังหวัด ได้แก่
- กำแพงเพชร (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- ชัยภูมิ (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- ชุมพร (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- เชียงราย (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- ตรัง (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- ตาก (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- นครศรีธรรมราช (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- พิจิตร (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- แพร่ (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- มหาสารคาม (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- แม่ฮ่องสอน (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- ระนอง (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- ราชบุรี (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- ลำปาง (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- ลำพูน (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- ศรีสะเกษ (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- สตูล (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- สิงห์บุรี (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- สุโขทัย (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- หนองบัวลำภู (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- อำนาจเจริญ (จากเดิมวันละ 315 บาท) และ
- อุทัยธานี (จากเดิมวันละ 315 บาท)
9. อัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 328 บาท จำนวน 5 จังหวัด
ปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 328 บาท ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่
- ยะลา (จากเดิมวันละ 313 บาท)
- ปัตตานี (จากเดิมวันละ 313 บาท)
- นราธิวาส (จากเดิมวันละ 313 บาท)
- น่าน (จากเดิมวันละ 320 บาท) และ
- อุดรธานี (จากเดิมวันละ 320 บาท)
ค่าจ้างขั้นต่ำ ก่อน 1 ตุลาคม 2565
ทั้งนี้ อัตราค่าแรงขั้นต่ำทั่วไปที่ไม่ใช่ค่าจ้างมาตรฐานวิชาชีพ มี 10 อัตรา ซึ่งแบ่งตามพื้นที่แต่ละจังหวัด โดยกำหนดอัตราต่ำสุด 313 บาท และอัตราสูงสุด 336 บาท อ้างอิงตาม ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 10) สรุปเป็นตารางได้ดังนี้
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ | เขตท้องที่บังคับใช้ |
336 บาท/วัน |
|
335 บาท/วัน |
|
331 บาท/วัน |
|
330 บาท/วัน |
|
325 บาท/วัน |
|
324 บาท/วัน |
|
323 บาท/วัน |
|
320 บาท/วัน |
|
315 บาท/วัน |
|
313 บาท/วัน |
|
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2565 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบ ค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2565 ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการค่าจ้าง ซึ่งนายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง ชุดที่ 21 ครั้งที่ 8/2565 เพื่อพิจารณากลั่นกรองข้อเสนออัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ปี 2565 ร่วมกับไตรภาคี ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง และหน่วยงานภาครัฐ โดยที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างฯ ได้เห็นชอบปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2565 ทั้ง 77 จังหวัด จำนวน 9 อัตรา โดยกำหนดอัตราเริ่มต้นตั้งแต่วันละ 328 บาท ถึง 354 บาท เพื่อให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป
ด้านนายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า การพิจารณาปรับ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ สำหรับปี 2565 ครั้งนี้มีอัตราค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 337 บาท เพิ่มขึ้นจากเดิมคิดเป็นอัตรา 5.02% โดยที่ประชุมฯ ได้พิจารณากำหนดบนพื้นฐานของความเสมอภาค เพื่อให้นายจ้างสามารถประกอบธุรกิจอยู่ได้ ลูกจ้างสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข และเพื่อเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ
ทั้งนี้ เมื่อมีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่สำหรับปี 2565 แล้ว คณะกรรมการค่าจ้างได้มีข้อเสนอให้รัฐบาลมีการออกมาตรการเพื่อลดผลกระทบจากการปรับ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ในส่วนค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ เพื่อนำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณามอบหมายให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้นำผลสรุปเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ซึ่งที่ประชุม ครม. ได้ให้ความเห็นชอบแล้วตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2565