วันเลือกตั้ง 2566 กกต. กำหนดให้ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 โดยจะเปิดรับสมัครผู้ลงสมัครับเลือกตั้ง ส.ส. ตั้งแต่วันที่ 3-7 เมษายน 2566 พร้อมทั้งกำหนดให้ วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2566 เป็นวันออกเสียงลงคะแนนก่อนวันเลือกตั้ง หรือ วันเลือกตั้งล่วงหน้า
- เขตเลือกตั้ง 2566 แยกตามจังหวัด ครบทั้ง 400 เขต (อัพเดตล่าสุด)
- วันหยุดราชการ 2566 ปฏิทินวันหยุดราชการ อัปเดตล่าสุด
21 มีนาคม 2566 – คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติเห็นชอบร่างแผนการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยกำหนดให้วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 เป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนี้ ยังกำหนดให้วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2566 เป็นวันออกเสียงลงคะแนนก่อนวันเลือกตั้ง หรือ วันเลือกตั้งล่วงหน้า โดยมีรายละเอียด วันเลือกตั้ง 2566 ดังนี้
ปฏิทิน วันเลือกตั้ง 2566
- 20 มีนาคม 2566 – พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566
- 21 มีนาคม 2566 – กกต. ประกาศกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- 27 มีนาคม-13 เมษายน 2566 – วันลงทะเบียนขอใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้าในเขต-นอกเขตเลือกตั้ง และนอกราชอาณาจักร
- 3-7 เมษายน 2566 – วันรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต
- 4-7 เมษายน 2566 – วันรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
- 3 พฤษภาคม 2566 – วันสุดท้ายเพิ่มชื่อ-ถอนชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง
- 7 พฤษภาคม 2566 – วันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขต-นอกเขตเลือกตั้ง และวันลงคะแนน ณ ที่เลือกตั้งกลางสำหรับคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุ
- 7-13 และ 15-21 พฤษภาคม 2566 – วันแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
- 14 พฤษภาคม 2566 – วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เกร็ดความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 2566
- จำนวนราษฎรสัญชาติไทยทั่วราชอาณาจักร 65,106,481 คน เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2565
- กกต. ได้กำหนดเขตเลือกตั้งโดยใช้ฐานเฉลี่ยจำนวนราษฎร 162,766 คน ต่อ สส. แบบแบ่งเขตหนึ่งคน
- เขตเลือกตั้ง 400 เขต สามารถแบ่งจำนวนตามภาคได้ดังนี้
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด มี 133 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 133 คน)
- ภาคกลาง 22 จังหวัด (รวมกรุงเทพมหานคร) มี 122 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 122 คน)
- ภาคใต้ 14 จังหวัด มี 60 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 60 คน)
- ภาคเหนือ 9 จังหวัด มี 37 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 37 คน)
- ภาคตะวันออก 7 จังหวัด มี 29 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 29 คน)
- ภาคตะวันตก 5 จังหวัด มี 19 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 19 คน)
- กรุงเทพมหานครมีราษฎร 5,394,910 คน จึงได้รับการจัดสรรเขตเลือกมากที่สุด คือ 33 เขตเลือกตั้ง ทำให้มี สส. แบบแบ่งเขตได้ถึง 33 คนในจังหวัดเดียว
- ตราด ระนอง สมุทรสาคร และสิงห์บุรี เป็น 4 จังหวัดที่มีเขตเลือกเพียงจังหวัดละ 1 เขต ทำให้ทั้ง 4 จังหวัดนี้มี สส. แบบแบ่งเขตได้จังหวัดละ 1 คน
- จังหวัดที่มีราษฎรเกิน 1 ล้านคน มีจำนวน 21 จังหวัด
- จังหวัดที่สามารถมี สส. แบบแบ่งเขตได้ 10 คนขึ้นไป มีจำนวน 9 จังหวัด ได้แก่
- กรุงเทพมหานคร ได้ 33 คน
- นครราชสีมา ได้ 16 คน
- ขอนแก่น ได้ 11 คน
- อุบลราชธานี ได้ 11 คน
- ชลบุรี ได้ 10 คน
- เชียงใหม่ ได้ 10 คน
- นครศรีธรรมราช ได้ 10 คน
- บุรีรัมย์ ได้ 10 คน
- อุดรธานี ได้ 10 คน
ไม่สะดวกไปเลือกตั้งวันอาทิตย์ที่ 14 พ.ค. 2566 สามารถใช้สิทธิลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตในวันอาทิตย์ที่ 7 พ.ค. 2566 แทนได้
กกต. เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถใช้สิทธิ ลงทะเบียน เลือกตั้งล่วงหน้า 2566 นอกเขตเลือกตั้ง และ นอกราชอาณาจักร ได้ตั้งแต่ 25 มีนาคม – 9 เมษายน 2566 เพื่อให้สามารถไปลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าได้จริงในวันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2566
ทั้งนี้ ประชาชนสามารถ ลงทะเบียน เลือกตั้งล่วงหน้า 2566 ได้ผ่านช่องทางออนไลน์ของกรมการปกครอง BORA PORTAL เป็นทางเลือกได้อีกหนึ่งช่องทาง โดยมีรายละเอียดขั้นตอนดังต่อไปนี้
ช่วงเวลาลงทะเบียน เลือกตั้งล่วงหน้า 2566
- ตั้งแต่ 25 มีนาคม – 9 เมษายน 2566
ช่องทางลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า
- ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องถิ่นด้วยตัวเองหรือผู้แทน
- ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องถิ่นทางไปรษณีย์
- ยื่นคำขอผ่านช่องทางออนไลน์
ขั้นตอนการลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า 2566 นอกเขต ผ่านช่องทางออนไลน์ BORA PORTAL กรมการปกครอง
- ผ่านเว็บไซต์ BORA PORTAL กรมการปกครอง https://thportal.bora.dopa.go.th
- กดปุ่ม “LOGIN ด้วย ThaID” (กรณียังไม่เคยสมัครใช้บริการ ThaID บัตรประชาชนดิจิทัลของกรมการปกครอง สามารถดูขั้นตอนการสมัครท้ายบทความนี้)
- แสกน QR Code ด้วยแอป ThaID หรือ กดปุ่ม “เข้าสู่ระบบด้วย ThaID”
- เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว ให้เลือกเมนู “ระบบเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)”
- เลือก “ลงทะเบียนขอใช้สิทธิล่วงหน้านอกเขตเลือกตั้ง”
- ที่หน้าระบบลงทะเบียนใช้สิทธินอกเขต ให้เลือกจังหวัดที่ต้องการไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต
- เลือกสถานที่ที่ต้องการไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต
- กด “บันทึกข้อมูล”
- กด “ยืนยัน”
- ระบบจะแสดงผล “ลงทะเบียนสำเร็จ”
กรณีต้องการลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า “นอกเขตราชอาณาจักร” สำหรับคนไทยที่อยู่ต่างประเทศ ผ่านช่องทางออนไลน์ BORA PORTAL กรมการปกครอง
- ผ่านเว็บไซต์ BORA PORTAL กรมการปกครอง https://thportal.bora.dopa.go.th
- กดปุ่ม “LOGIN ด้วย ThaID” (กรณียังไม่เคยสมัครใช้บริการ ThaID บัตรประชาชนดิจิทัลของกรมการปกครอง สามารถดูขั้นตอนการสมัครท้ายบทความนี้)
- แสกน QR Code ด้วยแอป ThaID หรือ กดปุ่ม “เข้าสู่ระบบด้วย ThaID”
- เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว ให้เลือกเมนู “ระบบเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)”
- เลือก “ลงทะเบียนขอใช้สิทธิล่วงหน้านอกราชอาณาจักร ทางอินเทอเน็ต”
- ตรวจสอบข้อมูลเลขหนังสือเดินทาง (Passport) แล้วกด “ตรวจสอบข้อมูล”
- เลือกประเทศที่ต้องการใช้สิทธิเลือกตั้ง
- เลือกสถานทูต/สถานกงสุลที่ต้องการใช้สิทธิเลือกตั้ง
- กรอกที่อยู่ปัจจุบันในต่างประเทศเป็นภาษาอังกฤษ
- กรอกที่อยู่สำหรับจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์ (สามารถระบุเป็นภาษาท้องถิ่นได้)
- กรอก email สำหรับส่งอีเมลตอบกลับ
- กด “บันทึกการลงทะเบียน”
- กด “ยืนยัน”
- ระบบจะแสดงผล “ลงทะเบียนสำเร็จ”
ลงทะเบียนเปิดใช้บริการ ThaID บัตรประชาชนดิจิทัล กรมการปกครอง
การลงทะเบียนเลือกตั้งนอกเขตผ่าน BORA PORTAL จำเป็นต้องสมัครใช้ ThaID ก่อนลงทะเบียนด้วย ซึ่งเป็นระบบ Digital ID ของกรมการปกครอง เพื่อสร้างระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของประเทศรองรับการใช้งานบริการภาครัฐ โดยประชาชนทั่วไปสามารถลงทะเบียนเปิดใช้ ThaID บัตรประชาชนดิจิทัลได้ฟรีที่บ้านโดยไม่ต้องไปแจ้งเขต-อำเภอก็ได้
ขั้นตอนการ ลงทะเบียนบัตรประชาชนดิจิทัล ด้วยตนเอง (พิสูจน์และยืนยันตัวผ่านแอป ThaID)
- โหลดแอป ThaID
- ผู้ใช้งานแอนดรอยด์ (Android) » โหลดผ่าน Google Play Store
- ผู้ใช้งานไอโฟน (iPhone) » โหลดผ่าน Apple App Store
- เลือกหัวข้อลงทะเบียนด้วยตนเอง
- ยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บริการเพื่อทำการลงทะเบียนสิ่งแทนเอกลักษณ์ดิจิทัล
- ถ่ายรูปหน้าบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อเสร็จแล้วให้ตรวจสอบความชัดเจนและกดปุ่มยืนยันหรือถ่ายใหม่
- ถ่ายรูปหลังบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อเสร็จแล้วให้ตรวจสอบความชัดเจนและกดปุ่มยืนยันหรือถ่ายใหม่
- ตรวจสอบข้อมูลบัตรประจำตัวประชาชน หากถูกต้องให้กดยืนยัน
- ถ่ายรูปภาพใบหน้าตนเอง
- ตั้งค่ารหัสผ่านเหมือนกัน 2 ครั้งโดยต้องไม่เรียงกัน และไม่ซ้ำกันเกิน 4 ตัว เช่น 1234, 1111
- ระบบแจ้งเตือนขอความยินยอมโดยระบุรหัสผ่านอีกครั้งเพื่อเข้าใช้งานแอปพลิเคชันครั้งแรก
- เมื่อลงทะเบียนเสร็จสิ้น หน้าจอจะแสดงรูปบัตรประจำตัวประชาชน
ขั้นตอนการ ลงทะเบียนบัตรประชาชนดิจิทัล ผ่านเจ้าหน้าที่
- โหลดแอป ThaID
- ผู้ใช้งานแอนดรอยด์ (Android) » โหลดผ่าน Google Play Store
- ผู้ใช้งานไอโฟน (iPhone) » โหลดผ่าน Apple App Store
- เลือกหัวข้อลงทะเบียนผ่านเจ้าหน้าที่
- นำบัตรประจำตัวประชาชนใบล่าสุด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้รับลงทะเบียนทำการตรวจสอบข้อมูลก่อนการลงทะเบียน ณ สำนักทะเบียน
- เปิดแอปพลิเคชัน ThaID พร้อมทั้งอนุญาตให้ใช้อุปกรณ์ของเครื่องโทรศัพท์มือถือ
- ยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บริการเพื่อทำการลงทะเบียนสิ่งแทนเอกลักษณ์ดิจิทัล
- ระบุเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ให้ถูกต้อง
- แสกนลายพิมพ์นิ้วชี้กับเจ้าหน้าที่
- แสกน QR code บนหน้าจอของเจ้าหน้าที่ ด้วยแอพพลิเคชั่น ThaID
- ตั้งค่ารหัสผ่านเหมือนกัน 2 ครั้งโดยต้องไม่เรียงกัน และไม่ซ้ำกันเกิน 4 ตัว เช่น 1234, 1111
- ระบบแจ้งเตือนขอความยินยอมโดยระบุรหัสผ่านอีกครั้งเพื่อเข้าใช้งานแอปพลิเคชันครั้งแรก
- เมื่อลงทะเบียนเสร็จสิ้น หน้าจอจะแสดงรูปบัตรประจำตัวประชาชน
หมายเหตุ: กรณีลืมรหัสผ่าน สามารถรีเซ็ตรหัสผ่านได้ โดยการถ่ายรูปภาพใบหน้าตนเองเพื่อขอสร้างรหัสผ่านใหม่