นายกรัฐมนตรีสั่งการ กระทรวงแรงงาน เตรียมฉีดวัคซีนให้ ผู้ประกันตน ม.33 (แรงงานในระบบประกันสังคม) เริ่มจาก กรุงเทพมหานคร ตามด้วย 9 จังหวัดเศรษฐกิจ ย้ำต้องฉีดต่อเนื่องและเร็วที่สุด เร่งเศรษฐกิจไทยเดินหน้าต่อได้
‘หมอพร้อม’ ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด-19 ผ่านไลน์
ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด-19 (สำหรับประชาชนทั่วไป)
ผู้ประกันตน ม.33 กลไกสำคัญฟื้นเศรษฐกิจไทย ต้องเร่งฉีดวัคซีนให้ได้ตั้งแต่ มิ.ย. นี้
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยผ่าน Facebook ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha มีใจความสำคัญว่า ผู้ประกันตน ม.33 ในระบบประกันสังคม เป็นกลุ่มแรงงานที่ความสำคัญกลุ่มหนึ่ง เป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีอาชีพต้องสัมผัส ต้องเจอคนจำนวนมาก อีกทั้งยังเป็นกลไกสำคัญของระบบเศรษฐกิจของประเทศ การเตรียมการฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มผู้ประกันตนนี้ จะเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวง แรงงาน กระทรวงการคลัง และภาคเอกชน โดยจะพร้อมฉีดตั้งแต่ ต้นเดือน มิ.ย. นี้
เผย 3 แนวทาง นายกฯ สั่งการ ประกันสังคม และ กทม. ตัวหลักกระจายวัคซีนให้เร็วที่สุด
นายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า ได้กำชับให้ฉีดวัคซีนให้ แรงงาน ม.33 ได้ต่อเนื่อง และรวดเร็วที่สุด เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิต และภาคบริการ ฟื้นตัวได้โดยเร็ว โดยมีแนวทางการกระจายวัคซีน ดังนี้
- สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ร่วมมือกับภาคเอกชน และ สปสช. ในการดำเนินการ โดยกลุ่มผู้ประกันตนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและผู้ป่วยในกลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง จะให้ทางกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ดำเนินการเนื่องจากกลุ่มดังกล่าวได้ลงทะเบียนผ่านหมอพร้อมไปแล้ว
- สำนักงานประกันสังคมจะประสานกับนายจ้างของแต่ละบริษัทให้ส่งข้อมูลลูกจ้างที่จะฉีดวัคซีน เพื่อทำการจัดสรรเวลาการฉีดวัคซีนให้แก่ผู้ประกันตน โดยในระยะแรกจะเน้นการฉีดวัคซีนสำหรับผู้ประกันตนใน กทม. และในระยะถัดไปจะเร่งฉีดวัคซีนให้แก่ผู้ประกันตนใน 9 จังหวัดเศรษฐกิจ จากนั้นจะดำเนินการฉีดวัคซีนให้แก่ผู้ประกันตนในจังหวัดที่เหลือต่อไป ที่สำคัญคือ จำนวนวัคซีนต้องเพียงพอกับจำนวนคน หากไม่ได้ทั้งหมดก็จะจัดสรรทะยอยให้ตามลำดับความเร่งด่วน
- การฉีดวัคซีนใน กทม. นั้น จะมีจุดฉีดวัคซีน 45 แห่ง และจุดฉีดวัคซีนใน 9 จังหวัดเศรษฐกิจอีก 22 แห่ง
พลเอกประยุทธ์กล่าวทิ้งท้ายว่า ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานตามแผนวาระแห่งชาติ เรื่องการฉีดวัคซีนโควิด ผู้ประกันตน ม.33 ทุกคน จะต้องได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อป้องกันโรคให้กับตนเอง คนรอบข้าง และผู้เข้ามารับบริการ เพื่อให้กิจการและเศรษฐกิจเดินหน้าต่อได้
กระทรวงแรงงาน เผยมีลูกจ้าง ผู้ประกันตน ม.33 ลงทะเบียนสนใจ แล้ว 80% เตรียมประสาน ร.พ. ในเครือประกันสังคม ฉีดวัคซีนโควิด มิ.ย. นี้
นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข พิจารณาจัดสรรโควต้าวัคซีนให้กระทรวงแรงงานเพื่อกระจายให้แก่แรงงานซึ่งเป็น ผู้ประกันตน ม.33 ในระยะแรก จำนวน 6 ล้านโดส ในเดือนมิถุนายน 2564 จำนวน 1.5 ล้านโดส ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เดือนกรกฎาคม 2564 จำนวน 4.0 ล้านโดส (ประกอบด้วยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 1.5 ล้านโดส และในพื้นที่ 9 จังหวัดเศรษฐกิจอื่น 2.5 ล้านโดส) อีกด้วย
นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงแรงงาน เตรียมความพร้อมในการ ฉีดวัคซีนโควิด ให้แก่แรงงาน ม.33 ซึ่งก่อนหน้านี้กระทรวงแรงงานได้สำรวจความต้องการฉีดวัคซีนผ่านระบบ SSO e-Service ของสำนักงานประกันสังคม โดยมีลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตน ม.33 ต้องการฉีดวัคซีนราว 80% และได้มอบหมายให้ผู้อำนวยการสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครเขตพื้นที่ทั้ง 12 เขต ดำเนินการจัดหาสถานที่สำหรับฉีดวัคซีนโควิด ซึ่งขณะนี้จัดได้สถานที่ไว้แล้วจำนวน 45 แห่ง โดยได้จัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการฉีดวัคซีนไว้พร้อมแล้ว และได้เชิญผู้บริหารโรงพยาบาลในเครือประกันสังคมจำนวน 12 แห่ง มาประชุมเพื่อซักซ้อมทำความเข้าใจเพื่อเตรียมความพร้อมในการฉีดวัคซีนโควิด คิดว่าจะสามารถเริ่มเปิดให้บริการได้ในเดือนมิถุนายนนี้
ติดต่อสำนักงานประกันสังคม
หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับขั้นตอนการลงทะเบียนรับวัคซีน สามารถติดต่อสำนักงานประกันสังคมพื้นที่และสาขาที่นายจ้างสังกัดอยู่ได้ในเวลาทำการ หรือสายด่วนประกันสังคม 1506
ติดต่อสำนักงานประกันสังคมพื้นที่กรุงเทพมหานคร
สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1
- รับผิดชอบเขต ดุสิต ป้อมปราบศัตรูพ่าย พระนคร สัมพันธวงศ์
- หมายเลขโทรศัพท์ : เบอร์กลาง 02-622-2500-17
สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 2
- รับผิดชอบเขต จตุจักร ดอนเมือง บางซื่อ บางเขน หลักสี่
- หมายเลขโทรศัพท์ : เบอร์กลาง 02-954-2577
สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3
- รับผิดชอบเขต ดินแดง พญาไท ราชเทวี ห้วยขวาง
- หมายเลขโทรศัพท์ : เบอร์กลาง 02-248-4867, 02-245-1220
สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 4
- รับผิดชอบเขต บางรัก ปทุมวัน
- หมายเลขโทรศัพท์ : เบอร์กลาง 02-634-0180-95
สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5
- รับผิดชอบเขต คลองสาน ธนบุรี บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางพลัด
- หมายเลขโทรศัพท์ : เบอร์กลาง 02-476-8787, 02-476-9016, 02-476-9982
สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 6
- รับผิดชอบเขต ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา บางแค ภาษีเจริญ หนองแขม
- หมายเลขโทรศัพท์ : เบอร์กลาง 02-455-8989 (จำนวน 13 คู่สาย)
สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 7
- รับผิดชอบเขต จอมทอง ทุ่งครุ บางขุนเทียน บางบอน ราษฎร์บูรณะ
- หมายเลขโทรศัพท์ : เบอร์กลาง 02-415-0995
สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 8
- รับผิดชอบเขต บางนา ประเวศ พระโขนง สวนหลวง
- หมายเลขโทรศัพท์ : เบอร์กลาง 02-743-3690
สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 9
- รับผิดชอบเขต คันนายาว บางกะปิ ลาดพร้าว วังทองหลาง บึงกุ่ม
- หมายเลขโทรศัพท์ : เบอร์กลาง 02-733-4111
สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 10
- รับผิดชอบเขต คลองสามวา มีนบุรี ลาดกระบัง สะพานสูง หนองจอก สายไหม
- หมายเลขโทรศัพท์ : เบอร์กลาง 02-517-9222
สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 11
- รับผิดชอบเขต ยานนาวา สาทร บางคอแหลม
- หมายเลขโทรศัพท์ : เบอร์กลาง 02-294-5958
สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 12
- รับผิดชอบเขต วัฒนา คลองเตย
- หมายเลขโทรศัพท์ : เบอร์กลาง 02-311-5935-9, 02-311 6507-9, 02-311-6527-8
ติดต่อสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ต่างจังหวัด
นายจ้างที่มีสถานประกอบการอยู่นอกพื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถค้นหาช่องทางติดต่อสำนักงานประกันสังคมจังหวัดได้ที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม แล้วเลือกเมนู สปส.จังหวัด