กองทัพบกพบทุจริตเบี้ยเลี้ยง แต่ไม่พบการข่มขู่หมู่อาร์ม เตรียมเอาผิดวินัยร้ายแรง

31 May 2020
Share on:

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2563 มีรายงานว่า พล.อ.อภิรัชต์ คมสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ได้สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนจากกรณีที่ ส.อ.ณรงค์ชัย อินทรกวี หรือ “หมู่อาร์ม” เสมียนงบประมาณแผนกโครงการและงบประมาณกองแผน โครงการศูนย์ซ่อมสร้างสิ่งอุปกรณ์ กรมสรรพวุธทหารบก ได้ออกมาเปิดเผยปัญหาทุจริตเบี้ยเลี้ยง ภายในกรมสรรพวุธทหารบกถูกผู้บังคับบัญชา และได้ร้องเรียนว่าถูกข่มขู่ คุกคามเอาชีวิต จากการเปิดเผยปัญหาทุจริตดังกล่าว

ตั้งคณะกรรมการสอบกรณีที่ทุจริตเบี้ยเลี้ยงแล้ว

คณะกรรมการชุดดังกล่าวซึ่งมีนายทหารระดับพลเอก เป็นประธาน ได้พิจารณาตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ได้ข้อสรุปดังนี้

1. พบทุจริตเบี้ยเลี้ยงภายในกรมสรรพวุธทหารบก

สำหรับประเด็นการทุจริตเบี้ยเลี้ยงภายในกรมสรรพวุธทหารบก คณะกรรมการพบว่ามีมูล จึงเตรียมทำเรื่องเสนอให้ ผบ.ทบ. ส่งให้คณะกรรมการปราบปรามการทุจริจแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ต่อไป

2. ไม่พบหลักฐานการข่มขู่เอาชีวิตหมู่อาร์ม

สำหรับประเด็นการข่มขู่ คุกคามเอาชีวิต หมู่อาร์ม คณะกรรมการพบว่าไม่มีมูล

เตรียมตั้งคณะกรรมการอีกชุดสอบหมู่อาร์มหนีทหาร เอาผิดวินัยร้ายแรง

นอกจากนี้รายงานข่าวเพิ่มเติมอีกว่าหมู่อาร์มได้กระทำผิดฐาน “หนีทหาร” ซึ่งเป็นความผิดวินัยทหารร้ายแรง โดยทางต้นสังกัดจะตั้งคณะกรรมสอบสวน โดยสถานการณ์ขณะนี้พบว่าหมู่อาร์มยังไม่ได้กลับไปปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยเป็นเวลาเกิน 16 วันแล้ว ซึ่งต้นสังกัดจะส่งให้ศาลทหารพิจารณาออกหมายจับ ตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร ฐานหนีราชการในเวลาปกติ หากเกิน 15 วัน มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ควบคู่ไปกับ การดำเนินการความผิดทางวินัยร้ายแรง โดยการตั้งกรรมการสอบ ดำเนินการ ปลด ถอดยศ และจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกตว่าประมวลกฎหมายอาญาทหารกำหนดบทลงโทษกรณีหนีราชการในเวลาปกติได้บัญญัติบทลงโทษจำคุกไว้เพียงไม่เกิน 5 ปีเท่านั้น ซึ่งขัดจากแหล่งข่าวที่ระบุว่าโทษไว้ไม่เกิน 7 ปี จึงคาดว่าน่าจะเป็นบทลงโทษในฐานความผิดอื่นที่ไม่ใช่การหนีราชการ

รู้หรือไม่?

ประมวลกฎหมายอาญาทหาร เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับตั้งแต่ พ.ศ. 2454 ในรัชกาลที่ 6 โดยความผิดฐานหนีทหารนั้นมีมาตราที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

มาตรา ๔๕ ผู้ใดเป็นนายทหารช้ันสัญญาบัตร ชั้นประทวน ช้ันนายสิบ ช้ันจ่า หรือเป็นพลทหารก็ดี ถ้าและมันขาดจากหน้าที่ราชการโดยมิได้รับอนุญาต หรือมันขาดจากราชการในเมื่อพ้นกําหนดอนุญาตลาแล้วก็ดี แม้เป็นไปด้วยความเจตนาจะหลีกเลี่ยงจากราชการตามคําสั่งให้เดินกอง ทหาร หรือเดินเรือไปจากที่ หรือคําสั่งเรียกระดมเตรียมศึกน้ันไซร้ ท่านว่ามันมีความผิดฐานหนีราชการ อีกนัยหน่ึง มันขาดจากราชการ จนถึงกําหนดที่จะกล่าวต่อไปน้ี คือ

๑) ขาด ๒๔ ชั่วโมง ต่อหน้าราชศัตรู

๒) ขาด ๓ วัน ถ้ามิใช่ต่อหน้าราชศัตรู แต่ในเวลาสงครามหรือในเขตท่ีใช้กฎอัยการศึก

๓) ขาด ๑๕ วัน ในท่ีและเวลาอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวมาแล้วดังนี้ไซร้ ท่านก็ว่ามันมี ความผิดฐานหนีราชการดุจกัน

มาตรา ๔๖ ผู้ใดกระทําความผิดฐานหนีราชการ ท่านว่ามันต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุ ดังจะว่าต่อไปนี้ คือ

๑) ถ้ามันหลบหนีไปเข้าอยู่กับพวกราชศัตรู ท่านว่าโทษมันถึงตาย

๒) ถ้ามันกระทําความผิดนั้นต่อหน้าราชศัตรู ท่านให้ลงอาญาจําคุกมันไว้จนตลอดชีวิต หรือมิฉะน้ันให้จําคุกมันไว้ยี่สิบปี

๓) ถ้ามันมิได้กระทําความผิดน้ันต่อหน้าราชศัตรู แต่ได้กระทําในเวลาสงคราม หรือในเขตซึ่งอยู่ในอํานาจกฎอัยการศึก ท่านให้ลงอาญาจําคุกมันไว้ตั้งแต่ปีหนึ่งขึ้นไปจนถึงสิบห้าปี

๔) ถ้ามันกระทําความผิดนั้นในเวลา หรือที่อื่นนอกจากท่ีว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจําคุกมันผู้กระทําผิดนั้นไว้ไม่เกินกว่าห้าปี

app icon
iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
star star star star star
(100K+)