รวมช่องทาง บริจาค ‘อุทกภัย’ น้ำท่วม 2565 ลดหย่อนภาษีได้ ผ่านช่องทาง e-donation โดยไม่ต้องขอใบเสร็จ
- ลงทะเบียนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 60 ปีบริบูรณ์ (เริ่ม ต.ค. 2565)
- ปรับอัตราประกันสังคม เหลือ 3% ประกาศเป็นกฎหมายแล้ว
บริจาค ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (น้ำท่วม) 2565 สามารถลดหย่อนภาษีได้ไหม?
โดยปกติเงินที่บริจาคให้แก่องค์กรการกุศลสาธารณะ เช่น สภากาชาดไทย สถานพยาบาลของทางราชการ องค์การของรัฐบาล สถานสาธารณกุศล จะสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ โดยอาจลดหย่อนได้ตามที่บริจาคจริง หรือ 2 เท่าของที่บริจาคจริง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่เงินบริจาค
รายชื่อโครงการ บริจาค ช่วยเหลือผู้ประสบภัย น้ำท่วม 2565 ที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
1. สภากาชาดไทย – โครงการเงินทุนฉุกเฉินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
สภากาชาดไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเงินทุนฉุกเฉินนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติทั้งภัยธรรมชาติ ภัยตามฤดูกาล อุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย และภัยที่เป็นอันตรายกับสุขภาพที่คาดการณ์ไม่ได้ เช่น โรคโควิด-19 ในกรณีที่ภาครัฐไม่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทั่วถึง ทันที และครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ซึ่งประกอบด้วย ผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ผู้พิการ เด็ก ผู้ไร้ที่พึ่ง รวมถึงกลุ่มแรงงานข้ามชาติ เพื่อเป็นการบรรเทาทุกข์ประชาชน รวมถึงเมื่อเงินช่วยเหลือด้านภัยพิบัติของสภากาชาดไทยที่ได้รับงบประมาณจากภาครัฐไม่เพียงพอต่อการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ 76 จังหวัด รวมถึงกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
ช่องทางบริจาค
- เว็บไซต์ Donation Hub – สภากาชาดไทย https://www.donationhub.or.th/project/71/detail
สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับ
- ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของเงินบริจาค
2. สำนักนายกรัฐมนตรี – กองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย
สำนักนายกรัฐมนตรี เปิดบัญชีกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธาณภัยต่างๆ
ช่องทางบริจาค
-
ธนาคารกรุงไทย สาขาทำเนียบรัฐบาล ชื่อบัญชี “กองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี” บัญชีเลขที่ 067-0-06895-0
สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับ
- ลดหย่อนภาษีได้ 1 เท่าของเงินบริจาค
3. มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภา) ยามยาก – “แบ่งปัน” ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจากเหตุ ”พายุโนรู”
มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย เปิดรับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจากเหตุ ”พายุโนรู” จากผู้มีจิตศรัทธา โดยสามารถร่วมแบ่งปันน้ำใจช่วยเหลือผู้ประสบภัยร่วมกับมูลนิธิฯ และสามารถนำใบเสร็จลดหย่อนภาษีได้
ช่องทางบริจาค
ชื่อบัญชี “มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย
- ธนาคารไทยพาณิชย์ กระแสรายวัน
เลขที่บัญชี 020-3-04545-1
- ธนาคารกสิกรไทยกระแสรายวัน
เลขที่บัญชี 076-1-76846-8
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยากระแสรายวัน
เลขที่บัญชี 114-0-06877-9
- ธนาคารกรุงเทพกระแสรายวัน
เลขที่บัญชี 101-3-48488-4
- ธนาคารกรุงไทยออมทรัพย์
เลขที่บัญชี 000-0-60128-4
- ธนาคารทีเอ็มบีธนชาตออมทรัพย์
เลขที่บัญชี 091-2-34258-1
ส่งหลักฐานการโอนเงินได้ที่ LINE Official : @friendsofpa หรือโทร 02-0546546
สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับ
- ลดหย่อนภาษีได้ 1 เท่าของเงินบริจาค
ช่องทางตรวจสอบรายชื่อองค์กรการกุศลสาธารณะที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้
คุณสามารถตรวจสอบรายชื่อองค์กรการกุศลที่มีสิทธิขอหักลดหย่อนเงินบริจาคได้ที่ www.rd.go.th ทั้งนี้สามารถบริจาคผ่าน ระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ได้
ระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) คืออะไร?
ระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) เป็นระบบรองรับข้อมูลการบริจาคลดหย่อนภาษีของผู้เสียภาษี เพื่อให้ผู้บริจาคจำเป็นไม่ต้องเก็บหลักฐานการบริจาคเองเมื่อจะใช้สิทธิลดหย่อน เงินบริจาคทั่วไป และ เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ
ระบบ e-Donation เป็นระบบที่พัฒนาโดย กรมสรรพากร
ทางเลือกการบริจาคผ่านระบบ e-Donation
1. กรณีบริจาคผ่านธนาคาร (QR Code)
การบริจาคผ่านธนาคารจะต้องทำผ่านวิธีโอนเงินด้วย QR Code ผ่านแอป Mobile Banking ของธนาคารนั้นๆ โดยแอปจะแสดงข้อความให้คุณเลือกแจ้งความประสงค์ส่งข้อมูลเข้าระบบ e-Donation เพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษี
ธนาคารจะส่งเงินบริจาคให้หน่วยงานผู้รับบริจาค และส่งข้อมูลการรับบริจาคจากผู้เสียภาษีเข้าระบบ e-Donation ให้ โดยข้อมูลการบริจาคจะถูกบันทึกในระบบภายใน 2 วันทำการ โดยที่หน่วยงานผู้รับบริจาคไม่จำเป็นต้องบันทึกข้อมูลระบบ e-Donation เอง
ป้าย QR Code ที่อยู่ในระบบ e-Donation จะมีข้อความแสดงชื่อบัญชีเงินฝากจะเป็นชื่อหน่วยงานผู้รับบริจาคนั้นๆ และข้อความว่า “e-Donation” เสมอ ซึ่งขณะนี้มีธนาคารที่เข้าร่วมโครงการและเปิดให้บริการระบบ e-Donation แล้ว ดังนี้
- ธนาคารกรุงเทพ
- ธนาคารกรุงไทย
- ธนาคารกสิกรไทย
- ธนาคารทหารไทย
- ธนาคารไทยพาณิชย์
- ธนาคารธนชาต
- ธนาคารมิซูโฮ
- ธนาคารออมสิน
2. กรณีบริจาคเป็นเงินสด
ผู้เสียภาษียังคงบริจาคเป็นเงินสดตามปกติ แต่หน่วยงานผู้รับบริจาคต้องบันทึกข้อมูลการรับบริจาคจากผู้เสียภาษีบนระบบ e-Donation เพื่อส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรต่อไป
ดังนั้น หากคุณต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี คุณต้องแจ้งให้หน่วยรับบริจาคบันทึกข้อมูลการบริจาคบนระบบ e-Donation ทันที
วิธีตรวจสอบข้อมูลการบริจาคของตนเอง
ผู้บริจาคสามารถสอบข้อมูลการบริจาคในระบบ e-Donation ได้ที่ epit.rd.go.th
คุณสามารถใช้เลขผู้ใช้งาน (login) และรหัสผ่าน (password) ชุดเดียวกันกับตอนที่ใช้ยื่นภาษีในระบบยื่นภาษีประจำปีทางอินเตอร์เน็ต (E-Filing) ของกรมสรรพากรได้เลย
คุณอาจจะต้องเตรียมบัตรประชาชนก่อนเข้าสู่ระบบด้วย เนื่องจากระบบจะถามหาเลข Laser ID 12 หลักที่ปรากฏอยู่หลังบัตรประจำตัวประชาชนด้วย
หน่วยงานผู้รับบริจาคที่อยู่ในเกณฑ์ใช้ระบบ e-Donation ได้
- โรงเรียน มหาวิทยาลัย สถานศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชน
- ศาสนสถานทุกศาสนา เช่น วัด โบสถ์ มัสยิด
- โรงพยาบาลรัฐ และสถานพยาบาลของรัฐ
- องค์กรการกุศลสาธารณะอื่นๆ ที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้
คุณสามารถตรวจสอบรายชื่อหน่วยรับบริจาคที่ใช้ระบบ e-Donation รวมถึงวิธีรับบริจาคได้ที่ edonation.rd.go.th