สำนักงานประกันสังคมจะเปิดให้ ทบทวนสิทธิเงินเยียวยา 2,500-5,000 บาท กรณีที่ผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ในพื้นที่สีแดงเข้ม (พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด) ทั้ง 29 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมของรัฐ เช็กสิทธิแล้วพบว่าตนไม่มีสิทธิรับเงินเยียวยา โดยผู้ประกันตน มาตรา 39 และมาตรา 40 จะเริ่มเปิดให้ทบทวนสิทธิเยียวยาได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 ส่วนผู้ประกันตน มาตรา 33 จะเริ่มทบทวนสิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน
- สมัครประกันสังคมมาตรา 40 รับเงินเยียวยา 5,000 บาท
- ลงทะเบียนรับ QR Code เดินทางข้ามพื้นที่ covid-19.in.th ‘หยุดเชื้อเพื่อชาติ’
- ตรวจสอบรายชื่อ 77 จังหวัด พื้นที่ ‘ล็อกดาวน์’ ของ ศบค. (อัพเดตล่าสุด)
วิธีขอทบทวนสิทธิเงินเยียวยาประกันสังคม
วิธีทบทวนสิทธิเงินเยียวยา ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และ ม.40 สามารถทำตามขั้นตอน ดังนี้
- โทรติดต่อสายส่วนประกันสังคม 1506 เพื่อตรวจสอบข้อมูลสิทธิเบื้องต้นและความแออัดหากต้องติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ฯ (โปรดเตรียมข้อมูลบัตรประชาชนเพื่อแจ้งเลขบัตรประชาชน 13 หลักแก่เจ้าหน้าที่เพื่อยืนยันตัวตน)
- หากตรวจสอบแล้วพบว่าอยู่ในเกณฑ์ขอทบทวนสิทธิได้ จึงค่อยเดินทางไปติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดพื้นที่สีแดงเข้มที่ตนเองอยู่
เอกสารที่ต้องเตรียมไปสำหรับขอทบทวนสิทธิเงินเยียวยาประกันสังคม
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาหลักฐานการชำระเงินสมทบประกันสังคมในเดือนกรกฎาคม (กรณีเป็นผู้ประกันตน ม.39 และ ม.40)
โหลดแบบฟอร์มคำขอทบทวนสิทธิ์
ผู้ประกันตนที่ต้องการขอทบทวนสิทธิสามารถโหลดแบบฟอร์มคำขอทบทวนสิทธิโครงการเยียวยาผู้ประกันตนไปล่วงหน้าได้ หรือขอรับแบบฟอร์มฯ ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ก็ได้
- ลูกจ้าง – ผู้ประกันตนมาตรา 33 >> ดาวน์โหลดแบบคำขอทบทวนสิทธิ ผู้ประกันตน ม.33
- หนังสือมอบอำนาจ ผู้ประกันตนมาตรา 33 >> ดาวน์โหลดหนังสือมอบอำนาจ ผู้ประกันตน ม.33
- อาชีพอิสระ – ผู้ประกันตนมาตรา 39 >> ดาวน์โหลดแบบคำขอทบทวนสิทธิ ผู้ประกันตน ม.39
- อาชีพอิสระ – ผู้ประกันตนมาตรา 40 >> ดาวน์โหลดแบบคำขอทบทวนสิทธิ ผู้ประกันตน ม.40
ทบทวนสิทธิเงินเยียวยา ประกันสังคม กรณีเช็คเงินเยียวยาแล้วไม่ได้สิทธิ์
- กรณีที่หากเช็คแล้วไม่ได้สิทธิ์ ให้ยื่นทบทวนสิทธิ์เยียวยาอีกครั้งหนึ่ง ในวันที่ 1 กันยายน 2564 โดยระหว่างนี้สำนักงานประกันสังคมได้เปิดให้ผู้ประกันตนสอบถามผ่านสายด่วนประกันสังคม 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง แล้วค่อยเดินทางไปที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ฯ เป็นลำดับต่อไป (ส่วนผู้ประกันตน มาตรา 33 จะยื่นทบทวนได้ในวันที่ 15 กันยายน 2564)
- กรณีได้รับสิทธิ์แล้ว แต่ยังไม่ได้รับเงินเยียวยา อาจเกิดจากการโอนเงินไม่สำเร็จ ผู้ประกันตนควรรีบติดต่อธนาคารโดยด่วน กรณีที่ยังไม่ผูกพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน ให้รีบไปดำเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน หรือเปลี่ยนจากผูกพร้อมเพย์เบอร์โทรศัพท์เป็นพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชนเพื่อรับเงินเยียวยา ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคมจะทำการโอนเงินรอบเก็บตกให้ทุกวันพฤหัสบดี โปรดตรวจสอบยอดเงินโอนอีกครั้ง
รอบเวลาการโอนเงินเยียวยาของแต่ละธนาคาร
- ธนาคารออมสิน โอนเวลา 1.00 น.
- ธนาคารกสิกรไทย โอนเวลา 1.35 น.
- ธนาคารกรุงไทย โอนเวลา 3.00 น.
- ธนาคารกรุงเทพ โอนเวลา 3.00 น.
- ธนาคารไทยพาณิชย์ โอนเวลา 4.00 น.
- ธกส. โอนเวลา 4.30 น.
- ธนาคารอื่นๆ โอนเงินภายในเวลา 5.00 น.
ช่องทางตรวจสอบสิทธิ์เงินเยียวยา ประกันสังคม ของผู้ประกันตน ม.33, ม.39 และ ม.40
- เว็บไซต์ประกันสังคม >> https://www.sso.go.th/eform_news
- สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 33 >> ตรวจสอบสิทธิ์ที่นี่
- สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39 >> ตรวจสอบสิทธิ์ที่นี่
- สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 >> ตรวจสอบสิทธิ์ที่นี่
วิธีตรวจสอบสิทธิเงินเยียวยามาตรา 33 และการขอทบทวนสิทธิ์
- ไปที่เว็บไซต์ประกันสังคม >> www.sso.go.th
- กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก
- กรอกรหัสให้ตรงกับรูปภาพ
- กด ‘ค้นหา’
- ระบบจะแจ้งผล “ได้รับสิทธิ” หรือ “ไม่ได้รับสิทธิ” ตามเงื่อนไขโครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด 29 จังหวัด ใน 9 ประเภทกิจการ
- กรณีขึ้นว่า “ไม่ได้รับสิทธิ” ให้รอทบทวนสิทธิอีกครั้ง ในวันที่ 1 กันยายน 2564 โดยระหว่างนี้ผู้ประกันตนสอบถามผ่านข้อมูลผ่านสายด่วนประกันสังคม 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- กรณีขึ้นว่าได้รับสิทธิแต่ยังไม่ได้รับเงินเยียวยา โปรดรีบติดต่อธนาคารโดยด่วน
- กรณีที่ยังไม่ผูกพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน ให้รีบไปดำเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน หรือเปลี่ยนจากผูกพร้อมเพย์เบอร์โทรศัพท์เป็นพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชนเพื่อรับเงินเยียวยา
หมายเหตุ: สำนักงานประกันสังคมจะทำการโอนเงินรอบเก็บตกให้ทุกวันพฤหัสบดี โปรดตรวจสอบยอดเงินโอนอีกครั้ง
วิธีตรวจสอบสิทธิเงินเยียวยามาตรา 39 และการขอทบทวนสิทธิ์
- ไปที่เว็บไซต์ประกันสังคม >> www.sso.go.th
- กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก
- กรอกรหัสให้ตรงกับรูปภาพ
- กด ‘ค้นหา’
- ระบบจะแจ้งผล “ได้รับสิทธิ” หรือ “ไม่ได้รับสิทธิ” ตามเงื่อนไขโครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 39 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด 29 จังหวัด ใน 9 ประเภทกิจการ
- กรณีขึ้นว่า “ไม่ได้รับสิทธิ” ให้รอทบทวนสิทธิอีกครั้ง ในวันที่ 1 กันยายน 2564 โดยระหว่างนี้ผู้ประกันตนสอบถามผ่านข้อมูลผ่านสายด่วนประกันสังคม 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- กรณีขึ้นว่าได้รับสิทธิแต่ยังไม่ได้รับเงินเยียวยา โปรดรีบติดต่อธนาคารโดยด่วน
- กรณีที่ยังไม่ผูกพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน ให้รีบไปดำเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน หรือเปลี่ยนจากผูกพร้อมเพย์เบอร์โทรศัพท์เป็นพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชนเพื่อรับเงินเยียวยา
หมายเหตุ: สำนักงานประกันสังคมจะทำการโอนเงินรอบเก็บตกให้ทุกวันพฤหัสบดี โปรดตรวจสอบยอดเงินโอนอีกครั้ง
วิธีตรวจสอบสิทธิเงินเยียวยามาตรา 40 และการขอทบทวนสิทธิ์
- ไปที่เว็บไซต์ประกันสังคม >> www.sso.go.th
- กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก
- กรอกรหัสให้ตรงกับรูปภาพ
- กด ‘ค้นหา’
- ระบบจะแจ้งผล “ได้รับสิทธิ” หรือ “ไม่ได้รับสิทธิ” ตามเงื่อนไขโครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 39 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด 29 จังหวัด ใน 9 ประเภทกิจการ
- กรณีขึ้นว่า “ไม่ได้รับสิทธิ” ให้รอทบทวนสิทธิอีกครั้ง ในวันที่ 1 กันยายน 2564 โดยระหว่างนี้ผู้ประกันตนสอบถามผ่านข้อมูลผ่านสายด่วนประกันสังคม 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- กรณีขึ้นว่าได้รับสิทธิแต่ยังไม่ได้รับเงินเยียวยา โปรดรีบติดต่อธนาคารโดยด่วน
- กรณีที่ยังไม่ผูกพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน ให้รีบไปดำเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน หรือเปลี่ยนจากผูกพร้อมเพย์เบอร์โทรศัพท์เป็นพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชนเพื่อรับเงินเยียวยา
หมายเหตุ: สำนักงานประกันสังคมจะทำการโอนเงินรอบเก็บตกให้ทุกวันพฤหัสบดี โปรดตรวจสอบยอดเงินโอนอีกครั้ง
พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) 29 จังหวัด
ผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 และ มาตรา 40 ที่จะมีสิทธิรับเงินเยียวยาต้องอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งประกาศเป็นพื้นที่ ‘ล็อกดาวน์’ ได้แก่
- กรุงเทพมหานคร
- กาญจนบุรี
- ชลบุรี
- ฉะเชิงเทรา
- ตาก
- นครปฐม
- นครนายก
- นครราชสีมา
- นราธิวาส
- นนทบุรี
- ปทมุธานี
- ประจวบคีรีขันธ์
- ปราจีนบุรี
- ปัตตานี
- พระนครศรีอยุธยา
- เพชรบุรี
- เพชรบูรณ์
- ยะลา
- ระยอง
- ราชบุรี
- ลพบุรี
- สงขลา
- สิงห์บุรี
- สมุทรปราการ
- สมุทรสงคราม
- สมุทรสาคร
- สระบุรี
- สุพรรณบุรี
- อ่างทอง
หมายเหตุ: การเดินทางเข้า-ออกพื้นที่สีแดงเข้มต้องลงทะเบียนรับ QR Code เดินทางข้ามพื้นที่ covid-19.in.th ‘หยุดเชื้อเพื่อชาติ’ ด้วย
กลุ่มกิจการที่ได้รับเงินเยียวยา 9 ประเภทกิจการ
1. ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
ตัวอย่างกิจการ
- โรงแรม
- รีสอร์ท
- เกสต์เฮาส์
- ที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท
- การบริการด้านอาหารในภัตตาคาร/ร้านอาหาร
- การบริการด้านอาหารบนแผงลอยและตลาด
- การบริการด้านการจัดเลี้ยง
- การบริการด้านเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นหลักในร้าน
2. การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
ตัวอย่างกิจการ
- การขนส่งผู้โดยสารทางรถโดยสารประจําทางระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดอื่น และระหว่างจังหวัด
- การขนส่งผู้โดยสารโดยรถยนต์รับจ้าง/แท็กซี่/รถสามล้อเครื่อง/จักรยานยนต์รับจ้าง
- การขนส่งสินค้าแช่เย็นหรือแช่แข็งทางถนน
- การขนส่งสินค้าที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ทางถนน
3. การขายแข่งและการขายปลีก
ตัวอย่างกิจการ
- การซ่อมยานยนต์
- ห้างสรรพสินค้า
- ซุปเปอร์เซ็นเตอร์
- การขายปลีกสินค้าทั่วไป
4. กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน
ตัวอย่างกิจการ
- ธุรกิจจัดนําเที่ยว
- กิจกรรมของมัคคุเทศก์
- กิจกรรมการรักษาความปลอดภัย
- การบริการทําความสะอาด
- การจัดการประชุมและจัดการแสดงที่สินค้า (Event)
5. กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ
ตัวอย่างกิจการ
- กิจกรรมของบริษัทโฆษณา
- กิจกรรมการออกแบบและตกแต่งภายใน
- การตรวจสอบบัญชี
- การให้คําปรึกษาด้านภาษี
6. ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร
ตัวอย่างกิจการ
- กิจกรรมการผลิตภาพยนตร์และวีดิทัศน์
- กิจกรรมการผลิตรายการโทรทัศน์
- กิจกรรมด้านการจัดฉายภาพยนตร์
7. การก่อสร้าง
ตัวอย่างกิจการ
- การก่อสร้างอาคารที่พักอาศัย
- การก่อสร้างถนน, สะพานและอุโมงค์
- การติดตั้งระบบประปาและระบายน้ํา
8. กิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ
ตัวอย่างกิจการ
- กิจกรรมสปา
- กิจกรรมการแต่งผม
- กิจกรรมการดูแลความงาม แต่งเล็บมือและเล็บเท้า
- กิจกรรมเกี่ยวกับงานศพและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
9. ศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ
ตัวอย่างกิจการ
- การดําเนินงานของสถานที่ออกกําลังกาย
- กิจกรรมด้านสโมสรกีฬา
- กิจกรรมด้านสวนสนุกและธีมปาร์ค
- กิจกรรมการแห่งโชว์เพื่อความบันเทิงและการนันทนาการ